กล่องกระดาษลูกฟูกสำคัญอย่างไร?

         กล่องกระดาษลูกฟูก นิยมใช้ในอุตสาหกรรมทุกประเภท เนื่องจากมีความแข็งแรง สามารถปกป้องสินค้าได้ดี สวยงาม มีราคาถูกกว่าบรรจุภัณฑ์อื่น นอกจากนี้การออกแบบทึ่ดียังสามารถเพิ่มภาพลักษณ์ให้สินค้าได้อีกด้วย

         กล่องกระดาษลูกฟูก เป็นบรรจุภัณฑ์ประเภทกล่องกระดาษที่มีคุณลักษณะแข็งแรงมาก นิยมใช้ในการขนส่งสินค้า เพราะนอกจากช่วยป้องกันสินค้าให้ปลอดภัยแล้ว ยังสามารถออกแบบได้ตาม ความต้องการ ทั้งขนาด รูปลักษณะและพิมพ์สอดสีได้สวยงาม ในการใช้งานเราจะทำเป็นกล่องกระดาษลูกฟูก 2 ชั้น, 3 ชั้น และ กล่องกระดาษลูกฟูก 5 ชั้น สามารถทำเป็นกล่องไดคัท และสามารถทำกล่องกระดาษลูกฟูก พิมพ์แบบออฟเซ็ท เพื่อให้ตัวกล่องมีความแข็งแรงพิเศษและได้งานพิมพ์ที่มีความสวยงามได้อีกด้วย

         กล่องกระดาษลูกฟูก จัดได้ว่าเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายในปัจจุบันและเป็นบรรจุภัณฑ์ที่นิยมใช้กันมาอย่างยาวนานแล้ว เรียกได้ว่าเกิดมาก็เห็นบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกล่องกระดาษลูกฟูกอยู่เต็มไปหมด หลากหลายขนาด หลากหลายรูปแบบ หลากหลายสีสัน แถมยังเป็นบรรจุภัณฑ์ที่แข็งแรงและราคาไม่สูงเหมาะสำหรับการบรรจุสินค้าเป็นอย่างยิ่ง แต่หากจะย้อนกลับไปถึงประวัติความเป็นมาของกล่องกระดาษลูกฟูกแล้วก็คงต้องย้อนกันไปเกือบ 2 ทศวรรษ กันเลยทีเดียว โดยจากตรงนี้จะเห็นได้ว่ากล่องกระดาษลูกฟูกนั้นมีความเป็นมาที่ยาวนานมากและต้องยอมรับจริงๆ ว่าผู้ที่ทำการคิดค้นขึ้นมานั้นมีแนวความคิดที่น่าสนใจและเป็นแนวความคิดที่เป็นคุณประโยชน์สำหรับคนรุ่นหลังเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ด้วยคุณสมบัติของกล่องกระดาษลูกฟูกที่ใช้วัสดุกระดาษที่ผลิตออกมาเป็นกระดาษลูกฟูกที่มีลักษระเป็นลอนภายในที่ช่วยป้องกันการกระแทกและสามารถออกแบบดีไซน์ในแบบต่างๆ เพื่อให้เหมาะต่อความต้องการที่จะใช้งานง่ายอีกทั้งกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นยังมีราคาไม่สูงอีกด้วยอีกทั้งเทคโนโลยีการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกในปัจจุบันที่ช่วยให้กล่องกระดาษลูกฟูกมีลวดลายและรูปแบบที่หลากหลายและมากขึ้นเพื่อปรับให้เหมาะกับความต้องการใช้งานประเภทต่างๆ ได้เป็นอย่างดี

         กล่องกระดาษลูกฟูก นั้นมีความทนทานต่อการจัดเก็บสินค้าและขนส่ง โดยผลิตภัณฑ์ที่บรรจุภัณฑ์อยู่ในกระดาษลูกฟูกนั้นจะได้รับการป้องกันจากแรงกดทั้งด้านบนด้านข้าง มีความต้านทานต่อแรงดันทะลุซึ่งและกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นสามารถมาเรียงซ้อนกันได้เป็นจำนวนมากซึ่งเหมาะสำหรับการขนส่งสินค้าในปริมาณมากที่ต้องทำการจัดเรียงซ้อนต่อกันหลายชั้น กล่องกระดาษลูกฟูกมีคุณสมบัติที่แข็งแรงทนทานสามารถปกป้องกันสินค้าไม่ให้เกิดความเสียหาย อีกทั้งยังมีน้ำหนักเบา และสะดวกในการเคลื่อนย้าย รูปทรงที่จัดวางง่ายที่ทำให้เรียงรวมกันได้อย่างสะดวก กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่องออฟเซ็ท กระดาษลูกฟูก 3 ชั้น ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 2 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 1 แผ่น โดยลอนลูกฟูก จะอยู่ตรงกลางระหว่าง กระดาษแผ่นเรียบทั้ง 2 แผ่น กระดาษลูกฟูก 5 ชั้น ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 3 แผ่น ปะกบกับ ลอนลูกฟูก 2 แผ่น โดยกระดาษลอนลูกฟูกที่อยู่ติดกับผิวกล่องด้านนอก

กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่องออฟเซ็ท
Ledger    

กระดาษลูกฟูก 2 ชั้น
ประกอบไปด้วย กระดาษแผ่นเรียบ 1 แผ่น ปะกบกับลอนลูกฟูก 1 แผ่น นิยมใช้กันกระแทกสินค้า หรือ ปะกล่องออฟเซ็ท

กล่องกระดาษลูกฟูกเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะกล่องกระดาษลูกฟูกผลิตจากกระดาษที่สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้และในปัจจุบันมากกว่า 70% ของกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นผลิตมาจากกระดาษรีไซจึงส่งผลให้ราคากล่องกระดาษลูกฟูกนั้นราคาไม่สูงซึ่งเป็นการประหยัดต้นทุนต่อธุรกิจที่จำเป็นต้องส่งสินค้าโดยการเลือกใช้กล่องกระดาษลูกฟูกได้เป็นอย่างดีและด้วยความที่กล่องกระ
ดาษลูกฟูกนั้นใช้วัสดุในการผลิตที่เป็นกระดาษจึงส่งผลให้การผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกสามารถผลิตออกมาได้ค่อนข้างตรงกับแบบรูปทรงต่างๆ เพราะวัตถุดับที่เป็นกระดาษนั้นเองทำให้กล่องกระดาษลูกฟูกสามารถ ตัด ดัด พับ งอ ได้ตามต้องการ ปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นมีความทันสมัยมากขึ้น โดยสามารถปรับเปลี่ยนให้ตรงกับความต้องการได้ สามารถพิมพ์ลวดลายตามที่ต้องการบนกล่องกระดาษลูกฟูกได้ โดยการพิมพ์ลายบนกล่องกระดาษลูกฟูกนั้นเพื่อเป็นการให้ข้อมูลหรือจะเพื่อความสวยงามเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าและยังเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ผลิตได้อีกทางหนึ่งผ่านลวดลายบนกล่องกระดาษลูกฟูก

มาตรฐานขนาดของกระดาษ

มาตรฐานขนาดของกระดาษ

      เนื่องจากมีการใช้กระดาษกันอย่างกว้างขวาง จึงจำเป็นต้องมีการกำหนดมาตรฐานของขนาดกระดาษขึ้นนอกเหนือจากการกำหนดมาตรฐานด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและการสื่อสารกัน ตลอดจนการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน

มาตรฐานของขนาดกระดาษ ISO 2016

    มาตรฐานขนาดกระดาษในระบบ ISO 2016ได้ถูกกำหนดขึ้นโดยมีพื้นฐานแนวคิดมาจากมาตรฐานระบบ German DIN 476 จุดเด่นของมาตรฐานนี้คือเมื่อนำกระดาษที่มีขนาดตามที่กำหนดไว้มาพับครึ่ง ขนาดของกระดาษที่พับแล้วยังคงมีสัดส่วน (อัตราส่วนของด้านสูงกับด้านกว้าง) เดียวกับขนาดก่อนพับ และหากพับครึ่งไปอีก ขนาดใหม่ก็ยังคงมีสัดส่วนเดียวกันหมด ประโยชน์ทีได้คือเมื่อนำกระดาษไปตัดแบ่งไปใช้งานตามมาตรฐานนี้ จะไม่เกิดการเสียเศษหากมีงานที่ต้องการย่อส่วน เพื่อให้ได้ผลตามที่หลักการที่กำหนด ได้มีการคำนวณและพบว่าอัตราส่วนความสูงหารด้วยความกว้างจะเท่ากับ สแควร์รูทของสอง (1.4142) และยังพบว่าระยะความกว้าง, ความสูงของขนาดพับครึ่งแล้วจะลดลงเป็น 70.7% จากเดิมเสมอ

ขนาดกระดาษมาตรฐานรหัสชุด A

มาตรฐานรหัสชุด A

มาตรฐานขนาดกระดาษชุด A เป็นมาตรฐานในระบบ ISO ซึ่งเป็นระบบเมตริก จะกำหนดรหัส A0 ให้มีขนาดพื้นที่เท่ากับ 1 ตารางเมตร จากการคำนวณจะได้ขนาดของ A0 เท่ากับ 841 x 1189 มิลลิเมตร เมื่อทำการแบ่งครึ่งจากขนาด A0 ดังกล่าว ขนาดใหม่ที่ได้ตั้งเป็นรหัส A1 หากทำการแบ่งไปเรื่อย ๆ ก็จะได้รหัส A2, A3, A4 …. มาตรฐานชุดนี้ เป็นมาตรฐานที่สร้างความคุ้นเคยและถูกนำใช้กันแพร่หลายโดยเฉพาะขนาด A4 ซึ่งมีขนาด 210 x 297 มิลลิเมตร เป็นขนาดของกระดาษถ่ายเอกสารที่ใช้กันมาก กระดาษหัวจดหมาย หนังสือ นิตยสาร ฯลฯ และถ้านำกระดาษขนาด A4 ที่มีน้ำหนักเท่ากับ 80 กรัมต่อตารางเมตร กระดาษมาชั่งจะมีน้ำหนักอยู่ที่ 5 กรัมพอดี ทำให้ผู้ใช้สะดวกในการหาน้ำหนักของกองกระดาษดังกล่าวโดยใช้วิธีนับจำนวนแผ่น

2A 1189  x 1682 mm. 46.81  x  66.22 in.
A0  841  x 1189 mm. 33.11  x  46.81 in.
A1  594  x   841 mm. 23.39  x  33.11 in.
A2  420  x   594 mm. 16.54  x  23.39 in.
A3  297  x   420 mm.  11.69  x  16.54 in.
A4  210  x   297 mm.    8.27  x  11.69 in.
A5  148  x   210 mm.   5.83  x   8.27 in.
A6  105  x   148 mm.   4.13  x   5.83 in.
A7    74  x   105 mm.   2.91  x   4.13 in.
A8    52  x    74 mm.   2.05  x   2.91 in.
A9    37  x    52 mm.   1.46  x   2.05 in.
A10    26  x    37 mm.   1.02  x   1.46 in.
 

 

มาตรฐานรหัสชุด B

มาตรฐานรหัสชุด B นี้จะเป็นที่คุ้นเคยน้อยกว่ารหัสชุด A วิธีการกำหนดขนาดในรหัสชุดนี้เริ่มโดยให้รหัส B1 มีขนาดอยู่ระหว่าง A0 กับ A1 และให้มีระยะด้านสูงเท่ากับ 1 เมตร ทำให้ด้านกว้างเท่ากับ 0.707 เมตร (มาจากข้อกำหนด ความสูงหารความกว้างเท่ากับสแควร์รูทของสอง) ดังนั้น ขนาดของรหัสชุด B จะมีด้านใดด้านหนึ่ง เป็นครึ่งหนึ่ง หรือหนึ่งในสี่ หรือหนึ่งในแปดของ 1 เมตรไปเรื่อย ๆ งานที่นิยมใช้มาตรฐานรหัสชุดนี้คืองานโปสเตอร์ หนังสือ (ใช้ B5) พาสปอร์ต ซองเอกสาร

B0  1000  x 1414 mm. 39.37  x  55.67 in.
B1  707  x 1000 mm. 27.83  x  39.37 in.
B2  500  x   707 mm. 19.68  x  27.83 in.
B3  353  x   500 mm.  13.90  x  19.68 in.
B4  250  x   353 mm.    9.84  x  13.90 in.
B5  176  x   250 mm.   6.93  x    9.84 in.
B6  125  x   176 mm.   4.92  x    6.93 in.
B7    88  x   125 mm.   3.46  x    4.92 in.
B8    62  x     88 mm.   2.44  x    3.46 in.
B9    44  x     62 mm.   1.73  x    2.44 in.
B10    31  x     44 mm.   1.22  x    1.73 in.

มาตรฐานรหัสชุด C

รหัสชุดนี้มีไว้ใช้กำหนดขนาดของซองใส่เอกสาร ที่เลขเดียวกัน รหัสของ C จะใหญ่กว่าของ A แต่เล็กกว่าของ B ดังนั้น กระดาษจดหมาย A4 จะสามารถใส่ลงในซองขนาด C4 และซองขนาด C4 ก็จะใส่ลงในซอง B4 ได้พอเหมาะ

C0  917  x 1297 mm. 36.10  x  51.06 in.
C1  648  x   917 mm. 25.51  x  36.10 in.
C2  458  x   648 mm. 18.03  x  25.51 in.
C3  324  x   458 mm.  12.76  x  18.03 in.
C4  229  x   324 mm.    9.02  x  12.76 in.
C5  162  x   229 mm.   6.38  x    9.02 in.
C6  114  x   162 mm.   4.49  x    6.38 in.
C7    81  x   114 mm.   3.19  x    4.49 in.
C8    57  x     81 mm.   2.24  x    3.19 in.
C9    40  x     57 mm.   1.57  x    2.24 in.
C10    28  x     40 mm.   1.10  x    1.57 in.


มาตรฐานอเมริกาเหนือ

    มาตรฐานที่กล่าวข้างต้นเป็นมาตรฐานในระบบ ISO สำหรับในทวีปอเมริกาเหนือ ยังมีการใช้กระดาษที่มีขนาดมาตรฐานต่างออกไป ซึ่งสามารถดูได้จากตารางข้างล่างนี้

Letter  216  x  279 mm.  8.50  x  11.00 in.
Legal  216  x  356 mm.  8.50  x  14.00 in.
Ledger  432  x  279 mm. 17.00  x  11.00 in.
Tabloid  279  x  432 mm.  11.00  x  17.00 in.

 

ยังมีมาตรฐานหนึ่งที่มีใช้ในประเภทอเมริกา ซึ่งนิยมกำหนดเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับกระดาษเขียนแบบของสถาปนิกและวิศวกร นั่นคือมาตรฐานของ ANSI

มาตรฐานขนาดกระดาษ ANSI

 


มาตรฐานขนาดกระดาษ ANSI


    ในปี 1995 สถาบันอเมริกันเนชั่นแนลสแตนดาร์ด (American National Standards Institute) ได้กำหนดมาตรฐานขนาดกระดาษขึ้น โดยให้ขนาดมาตรฐาน 8.5 x 11 นิ้วใช้รหัส ANSI A และขนาด ledger/tabloid ใช้รหัส ANSI B ซึ่งมาตรฐานรหัสชุดนี้ใกล้เคียงกับมตรฐานของระบบ ISO ซึ่งเวลาแบ่งครึ่งจะได้ขนาดที่เท่ากัน 2 ชิ้น แต่จะต่างจากระบบ ISO ตรงที่อัตราส่วนของความสูงกับความกว้างกลายเป็น 2 ชุดสลับไปมา แทนที่จะเป็นชุดเดียวเท่ากันหมด (ให้ดูตารางข้างล่าง)

  ขนาด

อัตราส่วน

(สูง/กว้าง)

ขนาดของ เทียบเคียงกับระบบ ISO
มิลลิเมตร นิ้ว
ANSI A 216 x  279 8.50 x 11.00 1.2941 Letter A4
ANSI B 432  x  279 17.00 x 11.00 1.5455 Ledger A3
279  x  432 11.00 x 17.00 Tabloid
ANSI C 432 x  559 17.00 x 22.00 1.2941   A2
ANSI D 559 x  864 22.00 x 34.00 1.5455   A1
ANSI E 864 x 1118 34.00 x 44.00 1.2941   A0

    นอกจากมาตรฐานขนาดของกระดาษที่กล่าวมาแล้ว ยังมีมาตรฐานที่จัดทำขึ้นในหลาย ๆ ประเทศ เช่น มาตรฐาน JIS ของประเทศญี่ปุ่น มาตรฐาน SIS ของประเทศสวีเดน อีกทั้งยังมีชื่อเรียกขนาดมาตรฐานตามการใช้งานต่าง ๆ เช่น ขนาด F4 (Foolscap) ซึ่งมีความกว้างเท่ากับ A4 แต่มีความสูงมากกว่า (210 x 330 mm.) ขนาดนามบัตร ขนาดโปสการ์ด เป็นต้น

Facebook Comments

ใส่ความเห็น